วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บทความดีๆ เกี่ยวกับบ้าน

บ้านน๊อคดาวน์ หรือ บ้านสำเร็จรูป เป็นการสร้างบ้านโดยยึดหลักระบบโครงสร้างผนังรับน้ำหนัก (Wall Bearing System) กล่าวคือ บ้านสำเร็จรูป จะไม่มีเสาและคาน แต่จะใช้ผนังเป็นตัวรับน้ำหนักแทน โดยที่ ผนังและส่วนประกอบต่างๆ ภายในบ้านจะถูกออกแบบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ แล้วนำชิ้นส่วนทั้งหมดมาประกอบกัน

การ สร้างบ้านสำเร็จรูป เป็นที่นิยมอย่างมากที่ประเทศญี่ปุ่น แถบยุโรป และประเทศที่มักเกิดเหตุแผ่นดินไหวบ่อยๆ หรือประสบภัยธรรมชาติบ่อยครั้ง เนื่องจากการสร้าง บ้านสำเร็จรูป ใช้เวลาก่อสร้างเร็ว ราคาถูกกว่า ความแข็งแรงทนทานทัดเทียมกับการสร้างบ้านแบบก่ออิฐฉาบปูน

ส่วนใน ประเทศไทยนั้นมีการสร้าง บ้านสำเร็จรูป ทั้งแบบเพื่ออาศัยจริง และที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่พักชั่วคราวให้กับผู้ที่ประสบภัย เช่น น้ำท่วม โคลนถล่ม ฯลฯ

วิธีสร้างบ้านสำเร็จรูป


สำหรับ วิธีการสร้าง บ้านสำเร็จรูป จะเริ่มต้นจากการตอกเสาเข็ม ทำฐานรากและคานคอดิน เหมือนกับการก่อสร้างบ้านแบบก่ออิฐฉาบปูน จากนั้นจึงเริ่มนำแผ่นพื้นและผนังสำเร็จรูปเข้ามาประกอบตามที่ได้ออกแบบไว้ โดยชิ้นส่วนต่างๆ จะได้รับการเชื่อมประสานตามเทคนิควิธีของแต่ละระบบ ซึ่งถือเป็นขั้นตอนสำคัญในการสร้าง บ้านสำเร็จรูป เพราะการเชื่อมต่อจะต้องมีมั่นคง กันน้ำรั่วซึม และสามารถรับแรงด้านข้างได้

อย่าง ไรก็ดี แผ่นผนัง บ้านสำเร็จรูป จะผลิตด้วยวิธีใดนั้นขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีของผู้ผลิตหรือผู้ก่อสร้างแต่ละ ราย เช่น ผนังคอนกรีตเสริมเหล็ก สำเร็จรูป, ผนังคอนกรีตเสริมเหล็ก แบบแซนวิช (ผนัง 2 แผ่น เว้นช่องไว้สำหรับเทคอนกรีตเชื่อม) เป็นต้น การเชื่อมต่อ (Connection) ของแต่ละชิ้นส่วนที่นำมาประกอบก็แตกต่างกันไป เช่น บางระบบเชื่อมต่อด้วย น็อต, คอนกรีต หรือแผ่นคอนกรีตเสริมเหล็กแบบเข้าลิ้น หรือมีระบบล็อคในตัว เป็นต้น

ข้อดีของบ้านสำเร็จรูป


ข้อ แตกต่างที่เด่นชัดของการสร้าง บ้านสำเร็จรูป คือมีความรวดเร็ว หากเทียบกับการสร้างบ้านระบบเดิม การสร้างบ้าน 1 หลัง อาจต้องใช้เวลา 5-6 เดือน แต่การก่อสร้าง บ้านสำเร็จรูป 1 หลัง ใช้เวลาก่อสร้างเพียง 2 เดือนเศษ (รวมระยะเวลาในการหล่อแบบ) ก็เสร็จพร้อมเข้าอยู่ อีกทั้งขณะการก่อสร้าง บ้านน๊อคดาวน์ จะไม่มีขยะจากการก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นไม้แบบ เศษอิฐ หิน ดิน ทราย เพราะเศษสิ่งเหล่านี้ถูกกำจัดไปเรียบร้อยตั้งแต่โรงงานผลิตชิ้นส่วน รวมถึงมลภาวะทางเสียง และฝุ่นผงที่เกิดจากการก่อสร้างก็ลดน้อยลง

และ ด้วยความที่ลักษณะพื้นผิวบ้านสำเร็จรูป เป็นวัสดุสำเร็จรูป จึงมีความเนียนเรียบ เมื่อประกอบเสร็จก็สามารถทาสีทับได้ทันที ส่วนในการวางระบบต่างๆ ของ บ้านน๊อคดาวน์ ทั้งไฟฟ้า ประปา สุขาภิบาล จะมีการวางท่อวางระบบไว้ในช่องผนังและพื้นสำเร็จรูปอยู่แล้ว เหล่านี้คือปัจจัยที่ทำให้การก่อสร้างบ้านสำเร็จรูปมีความสะดวกรวดเร็ว

ข้อจำกัดของบ้านสำเร็จรูป

แม้ จะมีข้อดีมากมาย แต่การสร้าง บ้านสำเร็จรูป ก็มีข้อด้อยในเรื่องของโครงสร้างที่ค่อนข้างหนัก เนื่องจากแผ่นพื้น-ผนังสำเร็จรูปที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก มีน้ำหนักมาก จึงจำเป็นต้องใช้เสาเข็มที่ยาวกว่าการสร้างบ้านแบบเดิม เพื่อป้องกันปัญหาบ้านทรุดในภายหลัง นอกจากนี้ การตกแต่งบ้านเล็กๆ น้อยๆ อย่างการตอกตะปู ก็ทำได้ยากเช่นเดียวกัน

ในขณะเดียวกัน หากคิดอยากจะปรับเปลี่ยนฟังก์ชั่นภายใน บ้านสำเร็จรูป เช่น ทุบห้อง 2 ห้องติดกันให้กลายเป็นห้องใหญ่ห้องเดียว หรือคิดจะทุบ เจาะ รื้อผนัง จำเป็นต้องปรึกษาวิศวกรที่มีความรู้ และแบบแปลนบ้านหรือพิมพ์เขียวที่ใช้ในการก่อสร้างก็มีความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งผู้ซื้อ บ้านสำเร็จรูป จะต้องขอรับจากเจ้าของโครงการ เพื่อใช้เป็นคู่มือในการปรับปรุงซ่อมแซมบ้านสำเร็จรูป ในอนาคต

ที่มา : kapook.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น